ถิ่นกำเนิด
ตาลโตนดมีถิ่นกําเนิดในเอเชียตอนใต้ แถบฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย และกระจัด กระจายขึ้นอยู่ทั่วภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา สหภาพเมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย สถานที่ที่พบตาลโตนดมากคือที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ส่วนภาคใต้ พบมากที่อําเภอสทิงพระ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา การแพร่กระจายของแหล่งปลูกตาลโตนดนั้น เชื่อกันว่าสัตว์เป็นตัวนําพาไป ได้แก่ ช้าง และวัว ควาย ทั้งนี้ช้างจะกลืนกินเมล็ดตาลโตนดทั้งเมล็ด และช้างจะสามารถเดินทางไปได้ ไกลเป็นระยะร้อยกิโลเมตร จึงทําให้เมล็ดตาลโตนดแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้ในระยะไกล ๆ ในขณะที่วัวและควายจะชอบกินผลตาลสุก และจะดูดกินความหวานส่วนของเส้นใยผลตาลสุกที่ห่อหุ้ม รอบเมล็ด แต่ไม่กินเมล็ดตาล ซึ่งมีลักษณะแข็งมาก และจะทิ้งเมล็ดไว้บริเวณใกล้เคียงที่กิน จึงไม่แพร่กระจายไปไกลมาก
ตาลโตนดในประเทศไทยได้มีการบันทึกข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น จารึกวัดแดนเมือง จารึกวัดศรีคูณเมือง จารึกวัดศรีเมือง และจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา และจาก หลักฐานเหล่านี้จึงเชื่อว่าตาลโตนดมีการปลูกมาตั้งแต่ก่อนสมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ถึง 16 เพราะได้พบตราประทับเป็นรูปคนปีนต้นตาล นอกจากนั้น มีการพบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงในช่วงหนึ่งที่แปลได้ว่า ในปีมะโรง ศกที่ 1214 พ่อขุนรามคำแหงขณะพระชนมายุ 14 พรรษา ได้ทรงปลูกไม้ตาลไว้กลางเมืองสุโขทัย (ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์, ม.ป.ป., หน้า 25) แสดงว่าในสมัยนั้นได้รู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากต้นตาลกันแล้ว เช่นเดียวกับตราประจําจังหวัดเพชรบุรีที่เป็นภาพผืนนาผืนใหญ่ถูกขนาบด้วยต้นตาลโตนด และภาพพระราชวังบนเขาวัง หรือ “พระนครคีรี” อันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของเมืองเพชรบุรีและ ความสงบร่มเย็นภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย ภาพต้นตาลโตนดตามคันนา มากมายที่ขึ้นแซมแต่งแต้มทุ่งนาผืนใหญ่ในเมืองเพชรนั้น บอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินของ จังหวัดเพชรบุรีได้อย่างดี และการทํานาก็เป็นอาชีพหลักของชาวเมืองเพชรมาแต่อดีต ซึ่งหลังฤดูเก็บ เกี่ยวเสร็จสิ้นลงแล้ว การทําน้ำตาลโตนดอันเป็นผลผลิตจากต้นตาลโตนดตามคันนาก็เป็นอาชีพที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้แก่เมืองเพชรไม่น้อย
แหล่งที่มา
พรพิศ ดาษดื่น. (2543). เพชรบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ต้นอ้อ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น