ผลิตภัณฑ์อาหารจากตาลโตนด
กรมส่งเสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เห็นความสำคัญของต้นตาลโตนดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง ตาลโตนด: ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป
เพื่อนำความรู้ที่ได้เป็นหลักเกณฑ์ในการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ตาลโตนดเพื่อการค้าในอนาคต
น้ำตาลสด
น้ำตาลสด หรือ น้ำตาลใส ที่รองได้จากต้นตาล
เมื่อช้อนฟองสีขาวที่ลอยอยู่บนผิวหน้าทิ้งก็จะเห็นน้ำหวานใสคล้ายสีน้ำอ้อย
สามารถดื่มได้ทันที แต่ถ้าจะให้น้ำตาลสดหวาหอมมากขึ้นและเก็บได้นาน ควรนำไปต้มก่อน
ประมาณ 10-15 นาที ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วตวงใส่ขวด
ข้อดีของการขายเป็นน้ำตาลสดที่เก็บได้ในทันทีก็คือ
ไม่ต้องใช้เวลาเคี่ยวนาน ไม่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ขายง่าย เก็บได้ไม่นาน
แต่ส่วนมากนิยมขายน้ำตาลสดที่เคี่ยวแล้วมากกว่า
ภาพที่ 14 น้ำตาลสด
(ที่มา : https://sanaymuangpetch.wordpress.com)
น้ำตาลปี๊บ
เป็นน้ำตาลที่ได้จากการนำน้ำตาลสดมาเคี่ยวประมาณ 3-4 ชั่วโมง เมื่อยกลงใช้ไม้กวนน้ำตาลนวดให้เย็น ประมณ 30 นาที จากนั้นเทลงปี๊บ สามารถเก็บไว้ได้นาน
น้ำตาลปึก
เป็นน้ำตาลที่ได้จากการนำน้ำตาลมาเคี่ยวจนงวดเช่นเดียวกับน้ำตาลปี๊บ
แล้วนำ
น้ำตาลเทลงในเบ้าหรือถ้วยแทน หรือหยอดลงแม่พิมพ์ตามที่ต้องการ
ทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงก็สามารถนำใส่ถุงบรรจุขายได้
ภาพที่ 15 น้ำตาลปึก
(ที่มา : http://cddata.cdd.go.th/cddkm/prov/km2_viewlist.php?action=view&div=62&kid=33668 )
น้ำตาลผง
เป็นน้ำตาลที่ได้จากการนำน้ำผึ้งผสมน้ำตาลทรายขาว
เคี่ยวจนงวดได้ที่ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที
ใช้ไม้ยีกวนจนแห้ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
แล้วนำมาร่อนในตะแกรง
น้ำตาลแว่น
เป็นน้ำตาลชิดหนึ่งที่ได้จากการนำผึ้งมาเคี่ยว
โดยมีการเพิ่มส่วนผสมของน้ำตาลทรายขาว ใช้ไม้กวนน้ำตาลให้เหนียว ใช้เวลาประมาณ 15 นาที แล้วจึงตักหยอดในแว่นวงกลมที่ทำด้วยใบตาลโตนด
นิยมรับประทานกันมากในจังหวัดสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
ภาพที่ 16 น้ำตาลแว่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น