วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับตาลโตนด


อาชีพที่เกี่ยวของกับผลิตผลตาลโตนด
            1. อาชีพคนขึ้นตาล ผลิตผลหลักที่สำคัญจากตนตาลโตนด คือ น้ำตาลสด ดังนั้นวิธีการนำน้ำตาลลงมา จากตนตาลซึ่งมีความสูงเทียบไดเทากับตึกสูง 4-5 ชั้น แลวนํามาแปรรูปเบื้องตน จึงนับวาเปน กระบวนการเริ่มแรกที่มีความสำคัญ เนื่องจากตองอาศัยความรู้ ประสบการณที่ถายทอดตอ ๆ กันมาจากรุ่นพอสูรุนลูกและรุนหลานตอ ๆไป ไมมีสถานศึกษาหรือที่ฝกอบรม ไมมีโรงเรียนสอน จึงถือไดาเป็นภูมิปญญาของคนเมืองเพชรที่ถายทอดและสั่งสมกันมานานนับเป100บุคคลผูนำน้ำตาลสดลง มาจากตนตาลเกาแกอายุเป100เชนกัน รูจักกันในนามวา “คนขึ้นตาล”
            2. อาชีพเตาเคี่ยวน้ำตาล โดยทั่วไปน้ำตาลสดที่เก็บเกี่ยวไดจะตองผานกระบวนการกรองดวยผาขาวบาง แลว นำไปตมในกระทะเหล็ก ซึ่งตั้งอยูบนเตาที่ใชานไมเปนเชื้อเพลิง จนกระทั่ง “น้ำตาลสด” เดือด (อุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส) มีการใสใบเตยหอมเพื่อแตงกลิ่นรส ใสน้ำปูนใสเพื่อทําใหน้ำตาลสดมีความใสขึ้น และบรรจุขวดเพื่อสงขายตอไป ผลผลิตนี้เรียกวา “น้ำตาลสด
            3. อาชีพแผงขายน้ำตาลสดและผลิตภัณฑจากน้ำตาลโตนด   แผงขายผลิตภัณฑจากตาลโตนด ริมถนนเพชรเกษมในเขตอำเภอเมือง จังหวัด เพชรบุรี โดยจะมีเพียงโตะวางสินคาและรมกันแดด เปนอุปกรณของแผงขาย สินค
            4. ผลิตภัณฑกลึงไมตาล (ผลิตสินคOTOP) อาชีพกลึงไมตาลเปนอุตสาหกรรมในครัวเรือนผลิตสินคาแปรรูปจากไมตาลใหเปน เครื่องใชเครื่องประดับของชำรวย ของโชวาง ๆ ตามความตองการของลูกคา สินคาที่ผลิตส่วนมากไดแกครก ตะเกียบ จานรองแกว แกวแชมเปญ ตลับแมน ดาริน และถาดรอง เปนต
 เครื่องมือและอุปกรณในการผลิต เปนเครื่องมืออุปกรณในการทําเฟอรนิเจอรเชน เครื่องกลึง เลื่อย มีด ตะไบ เครื่องเจาะ เครื่องตัด กระดาษทราย แลคเกอรฯลฯ

ผลิตภัณฑ์อาหาร

ผลิตภัณฑ์อาหารจากตาลโตนด
            กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นความสำคัญของต้นตาลโตนดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง ตาลโตนด: ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เพื่อนำความรู้ที่ได้เป็นหลักเกณฑ์ในการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ตาลโตนดเพื่อการค้าในอนาคต

             น้ำตาลสด
น้ำตาลสด หรือ น้ำตาลใส ที่รองได้จากต้นตาล เมื่อช้อนฟองสีขาวที่ลอยอยู่บนผิวหน้าทิ้งก็จะเห็นน้ำหวานใสคล้ายสีน้ำอ้อย สามารถดื่มได้ทันที แต่ถ้าจะให้น้ำตาลสดหวาหอมมากขึ้นและเก็บได้นาน ควรนำไปต้มก่อน ประมาณ 10-15 นาที ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วตวงใส่ขวด
            ข้อดีของการขายเป็นน้ำตาลสดที่เก็บได้ในทันทีก็คือ ไม่ต้องใช้เวลาเคี่ยวนาน ไม่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ขายง่าย เก็บได้ไม่นาน แต่ส่วนมากนิยมขายน้ำตาลสดที่เคี่ยวแล้วมากกว่า

ภาพที่ 14 น้ำตาลสด
(ที่มา : https://sanaymuangpetch.wordpress.com)
น้ำตาลปี๊บ
เป็นน้ำตาลที่ได้จากการนำน้ำตาลสดมาเคี่ยวประมาณ 3-4 ชั่วโมง เมื่อยกลงใช้ไม้กวนน้ำตาลนวดให้เย็น ประมณ 30 นาที จากนั้นเทลงปี๊บ สามารถเก็บไว้ได้นาน
น้ำตาลปึก
เป็นน้ำตาลที่ได้จากการนำน้ำตาลมาเคี่ยวจนงวดเช่นเดียวกับน้ำตาลปี๊บ แล้วนำ
น้ำตาลเทลงในเบ้าหรือถ้วยแทน หรือหยอดลงแม่พิมพ์ตามที่ต้องการ ทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงก็สามารถนำใส่ถุงบรรจุขายได้
ภาพที่ 15 น้ำตาลปึก
(ที่มา : http://cddata.cdd.go.th/cddkm/prov/km2_viewlist.php?action=view&div=62&kid=33668 )
น้ำตาลผง
เป็นน้ำตาลที่ได้จากการนำน้ำผึ้งผสมน้ำตาลทรายขาว เคี่ยวจนงวดได้ที่ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ใช้ไม้ยีกวนจนแห้ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที แล้วนำมาร่อนในตะแกรง
น้ำตาลแว่น
เป็นน้ำตาลชิดหนึ่งที่ได้จากการนำผึ้งมาเคี่ยว โดยมีการเพิ่มส่วนผสมของน้ำตาลทรายขาว ใช้ไม้กวนน้ำตาลให้เหนียว ใช้เวลาประมาณ 15 นาที แล้วจึงตักหยอดในแว่นวงกลมที่ทำด้วยใบตาลโตนด นิยมรับประทานกันมากในจังหวัดสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
ภาพที่ 16 น้ำตาลแว่น




การเก็บเกี่ยวผลผลิต


การเก็บเกี่ยวผลผลิตตาลโตนด
            ต้นตาลจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลได้เมื่ออายุประมาณ 12-15 ปีขึ้นไป การเก็บสามารถเก็บได้จากผลผลิตหลักๆ ได้แก่ลอนตาลสด น้ำตาลสด จาวตาล และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากตาลโตนด (เช่น หัวตาลสด ใบตาล ฯลฯ)

                ลูกตาลสด ผลตาล เป็นส่วนของผลสามารถเก็บเกี่ยวหลังจากออกจั่นแล้ว 2-3 เดือน ในลูกตาล 1 ลูก จะมีลอนตาลประมาณ 3 ลอน ลอนตาลอ่อนเมื่อปอกเปลือกหุ้มเมล็ดออกจะมีเนื้อเป็นสีขาว อ่อนนุ่ม มีรสหวาน ส่วนมากจะนำไปเชื่อม
ภาพที่ 11 ผลตาลอ่อนที่ปลอกเปลือกแล้ว
(ที่มา : http://prakasitcooking.blogspot.com/2014/05/blog-post.html)
น้ำตาลสด การนวดช่อดอก หรือการนวดงวงตาล หรืออาจเรียกว่า การคาบช่อดอกสำหรับวิธีการนวดนั้นกรรมวิธีที่เกษตรต้องทำเป็นขั้นตอนแรก ในแต่ละพื้นที่อาจมีวิธีที่แตกต่างกัน มีรายละเอียดดังนี้
วิธีที่ 1 เกษตรกรเลือกช่อดอกที่จะคาบหรือนวด ประมาณ 1-7 ช่อดอก ส่วนช่อ
ดอกอื่นๆจะเก็บไว้นวดภายหลัง เกษตรกรจะใช้ไม้คาบทำด้วยไม้ไผ่ 2 ท่อน ที่เรียกว่า ไม้คาบตาลนำมาผูกติดกับที่ปลายข้างหนึ่ง เพื่อทำเป็นคีมไม้ จากนั้นผูกงวงตาลเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการใช้กระบอกไม้ไผ่สำหรับรองรับน้ำตาลโตนดสดในขั้นตอนต่อไป
วิธีที่ 2 เกษตรกรจะหักงวงตาลทิ้งบางส่วน โดยเลือกงวงตาลที่มีขนาดเท่ากันเหลือ
เอาไว้ 4-5 งวง หลังจากนั้นจับงวงตาล แล้วหมุนบิดควงซ้ายสลับขวา เพื่อให้ท่อน้ำหวานที่มีลักษณะเป็นเสี้ยนแตกกระจายตัว ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนวดให้ครบ 3 ครั้ง จะนวดในเวลาเช้าและเย็น ประมาณ 5-6 วัน
หลังจากนวดหรือคาบช่อดอกแล้ว จะแช่ง่วงตาลที่มัดรวมกันไว้ในกระบอกใส่
น้ำเปล่า น้ำที่ใช้แช่ควรเป็นน้ำขุ่นหรือน้ำดินโคลน เพื่อให้มีน้ำตาลสดในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้าแช่นานเกินไปจะทำให้ไส้ของงวงตาลอุดตัน ทำให้น้ำตาลไหลไม่ดีเช่นกัน

ภาพที่ 12 มีดปาดตาล
(ที่มา :http://www.nodnalay.com/?p=285 )

ภาพที่ 13 กระบอกใส่น้ำตาลโตนด
(ที่มา : http://www.nodnalay.com/?p=285 )

แหล่งที่มา
ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์. (ม.ป.ป.) ตาลโตนด มรดกพืชจากบรรพบุรุษแหล่งสร้างงาน สร้างชีวิต.

          กรุงเทพฯ : เพชรกะรัต.
            


วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประโยชน์ของต้นตาลโตนด


ประโยชน์ของต้นตาลโตนด
นตาลโตนดเป็นพืชที่มีลําต้นเป็นไมเนื้อแข็งมีความทนทานต่อสภาพแวดลอมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดี  ทนแลง ทนฝน ซึ่งประโยชนที่ได้รับจากการนําสวนต่าง ๆ ของตนตาลโตนดมาใช้ มีดังนี้
สรรพคุณทางยา
ช่อดอก ใช้เป็นยาสมุนไพร ต้มน้ำกินแก้ตานขโมยในเด็ก แก้พิษตานซาง แก้ร้อนใน และขับพยาธิ ช่อดอกตัวผู้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และตากแห้งต้มกับส่วนอื่นเป็นยาบำรุงกำลัง
ราก ใช้ต้มเป็นยาขับปัสสาวะ เป็นยาชูกำลัง ขับเลือด ก้านใบสดย่างไฟคั้นเอาแต่น้ำ สามารถใช้แก้อาการโรคท้องร่วงและแก้ปวดเมื่อยได้
ลูกตาล แก้กระหายน้ำ แก้ไขตัวร้อน ละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอเรื้อรัง

ประโยชน์ด้านอาหาร
            ตาลโตนดสามารถนำมาประกอบอาหารได้เกือบทุกช่วงของการเจริญเติบโต
            ลูกตาลอ่อน นอกจากจะรับประทานสดๆได้แล้วยังสามารถนำมาประยุกต์ทำเป็นขนมหวานได้อีกด้วย
            1. ลูกตาลลอยแก้ว
                        ส่วนผสม : ลูกตาล น้ำตาลทราย น้ำเปล่า ใบเตย
                        วิธีทำ
                        1. ล้างลูกตาล และปลอกเปลือกสีน้ำตาลออกให้หมด พร้อมหันเป็นชิ้นพอดีคำ
                        2. ต้มน้ำเชื่อมรอจนเดือด ใส่น้ำตาล และใบเตยลงไป คนให้น้ำตาลละลาย
                        3. ใส่เนื้อลูกตาลลงไปต้ม รอจนน้ำเชื่อมเดือดอีกครั้ง
                        4. ก่อนจะรับประทานสามารถใส่น้ำแข็งเพื่อเพิ่มความอร่อยและชื่นใจได้ตามชอบ
              2. บวชลูกตาลอ่อน 
                       ส่วนผสม ลูกตาลอ่อน น้ำตาลโตนด ใบเตย กะทิ เกลือ
                       วิธีทำ
                       1.ปลอกเปลือกลูกตาล แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
                       2. นำกะทิและน้ำตาลโตนดลงหม้อ ตามด้วยเกลือ คนให้เข้ากัน
                       3. นำลูกตาลที่หั่นเตรียมไว้ใส่หม้อต้มให้เดือด
                       4. เมื่อได้ที่แล้ว พักไว้ให้เย็นพร้อมรับประทาน
            สำหรับสวนของผลตาลโตนด สามารถแบงการใช้ประโยชนได้ 2 ลักษณะ คือ ผลออนและผลแก่ (ตาลสุก)ผลตาลออน สามารถนำเอาส่วนของหัวตาลมาปอกผิวนอกออก แลวหั่น ออกเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปประกอบเปนอาหารคาว เช่น แกงคั่วหัวตาล หรือแกงหัวโตนด
           ส่วนผลตาลแก่ ผลตาลที่แก่จัด หรือสุกงอมจะมีเนื้อของผลตาลสีเหลืองเขมจนถึง สีน้ำตาลมีลักษณะนุมเหลวซึ่งนำไปแปรรูปได้หลากหลาย  เช่น
             1. ขนมตาล 
                          ส่วนผสม น้ำตาลทราย กะทิ เนื้อตาลสุก แป้งข้าวเจ้า ผงฟู มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น
                           วิธีทำ 
1. ละลายน้ำตาลในกะทิ ใส่เนื้อลูกตาลลงไป
2. ใส่แป้งและผงฟูลงไป คนส่วนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน  
3. กรองด้วยผ้าขาวบาง พกไว้ประมาณ 10 นาที
4. เรียงถ้วยตะไลในหม้อนึ่ง และหยอดส่วนผสมจนเต็มถ้วย นึ่งบนไฟเดือดประมาณ 15-20 นาที จนสุก ยกลงจากตาพักให้เย็นพร้อมรับประทาน 
ภาพที่ 8 ขนมตาล
(ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/195636 )

2. ขนมบัวลอยเนื้อตาล
    ส่วนผสม : แป้งข้าวเหนียว เนื้อตาล น้ำกะทิ วุ้นมะพร้าว
    วิธีทำ
     1. นำกะทิตั้งไฟ ใส่น้ำตาลปี๊บและน้ำตาลทราย เคี่ยวให้ทุกส่วนผสมเข้ากัน
     2.  นวดแป้งข้าวเหนียวกับแป้งข้าวเจ้าให้เข้ากัน ใส่เกลือเล็กน้อย
     3. ใส่เนื้อตาลที่ยีไว้ลงไปในแป้ง ใช้น้ำอุ่นนวดให้เข้ากัน
     4. ปั้นแป้งลูกเล็กๆใส่ลงหม้อที่เคี่ยวน้ำกะทิ ทิ้งไว้ให้แป้งลอยจนสุก
(Food Travel, 2555 )
3. ขนมไข่ปลา
ส่วนผสม :  แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย ใบเตย มะพร้าวทึนทึกแบบขูดเป็นเส้น เกลือ เนื้อตาลยี
        วิธีทำ
            1. ใส่น้ำและน้ำตาลลงในหม้อ ต้มให้เดือด
            2. นวดแป้งข้าวเหนียว ข้าวเจ้า และเนื้อลูกตาลยีนวดผสมให้เข้ากัน
            3. นำแป้งที่นวดแล้วมาปั้นเป็นตัวอ้วนๆ ตัวใหญ่ๆ ตามความถนัด
            4. แบ่งน้ำเชื่อมที่ต้มเดือดแล้วใส่ถ้วยไว้ครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งที่เหลือให้ใส่ตัวแป้งที่ปั้นลงไปต้มจนสุก
           5. นำตัวที่ต้มสุกแล้วไปแช่ในถ้วยน้ำเชื่อมที่แบ่งไว้ ถ้าแช่นานก็จะมีความหวานในตัวแป้งมากตามระยะเวลาที่แช่ทิ้งไว้
                                       6. ตักขึ้นพักไว้จนแห้ง โรยด้วยมะพร้าวทึนทึกขูดพร้อมรับประทาน 
        ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม
ใบแก่ ใช้มุงหลังคา นิยมกันมากในอินเดีย
ลำต้น ก้านใบ หรือทางตาล สามารถนำมาทำเก้าอี้ โต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งบ้านที่มีราคาสูง 
ต้นตาลแก่ นิยมใช้ทำเสาบ้าน
โคนต้นตาล นำมาขุดใช้ทำเสาเรือชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เรืออีโปง”
        ลูกตาล กลุ่มแม่บ้านในจังหวัดนครสวรรค์ได้นำลูกตาลไปเผาในอุณหภูมิพอเหมาะจนกลายเป็นถ่านผลไม้ดูดกลิ่น
      ประโยชน์ด้านงานหัตถกรรม
       ใบตาลอ่อน สามารถนำมาจักสานให้เป็นรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย เช่น ตะกร้า หมวก เสื่อ กระเป๋า พัด ฯลฯ
       เส้นใย ใช้ประโยชน์ทางช่างฝีมือ เช่น ใช้ทำกระดาษ ใช้ทำแปรง ไม้กวาด และเชือก เส้นใยชั้นในนุ่มสามารถผลิตเป็นเครื่องจักสาน และผูกใบจากมุงหลังคาได้
      ไม้ตาล ถูกนำมาเพิ่มมูลค่าในลักษณะเป็นของใช้งานในบ้าน ของโชว์ และของชำร่วยต่าง มากมาย เช่น กำไลข้อมือแก้วน้ำ พวงกุญแจ กรอบรูป ตะเกียบ ที่รองแก้ว ถาด ตะหลิว ทัพพี ไม้เกาหลัง ฯลฯ ภาคใต้นิยมนำไม้ตาลมาใช้ทำหุ่นกลองแขก หุ่นกลองมลายู และในบางพื้นที่ก็นำไม้ตาลมาทำขลุ่ยเพียงออ ส่วนใบตาลนำมาใช้ทำลิ้นปี่ นอกจากนี้นักดนตรีภาคใต้บางท้องที่ได้ใช้งวงตาลแห้งจุดไฟเป่าเพื่อฝึกการระบายลม
     ใบตาลแก่ ใช้ทำพัดขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “ตาลปัตร” เพื่อถวายพระภิกษุในศรีลังกาและพม่า
ภาพที่ 9 
(ที่มา : http://www.industry.co.th/t1/productdetails.php?id=77261&uid=41106)
        ประโยชน์ด้านการเกษตร
ลูกตาลสด ใช้เป็นอาหารเลี้ยงวัว เส้นใยจากผลแก่และเส้นใยบริเวณโคนทางตาลใช้เป็นเชือกล่ามสัตว์เลี้ยง
ก้านใบ ใช้ทำรั้วคอกสัตว์
ใบตาลและทุกส่วนของตาล ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้
ลำต้น ใช้ทำท่อระบายน้ำในพื้นที่การเกษตร
ต้นตาล เผาเป็นเถ้าใช้ในแปลงนาเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน นอกจากนี้ยังมีลำต้นที่แข็งแรง เนื้อไม้สามารถแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ไม่ผุง่าย ทนแดด ทนฝน และลดการเสียดสีได้ดีมาก ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงหอยนางรม สามารถใช้ต้นตาลตัดเป็นท่อนๆ ผ่าซีก วางไว้ให้หอยนางรมเกาะ เป็นที่เลี้ยงหอยได้อีกด้วย
       ประโยชน์ด้านพลังงานเชื้อเพลิง   
       น้ำตาลสด สมารถแปรรูปเป็นพลังงานธรรมชาติที่เรียกว่า น้ำตาลแอลกฮออล์
       ช่อดอกตากแห้ง สามารถใช้เป็นฟืน หรือเชื้อเพลิงในการหุงต้มได้
       เปลือกหุ้มเมล็ดลูกตาล สามารถทำเชื้อไฟได้เป็นอย่างดี เพราะถ่านที่ได้จากส่วนเปลือกชั้นในของเมล็ดตาล เป็นถ่านที่ให้ความร้อนดี มีคุณภาพสูง   
ภาพที่ 10 ถ่านจากลูกตาล
(ที่มา : http://www.nodnalay.com/?p=285)

แหล่งที่มา

Food Travel. (2555). บัวลอยเนื้อตาล. ค้นข้อมูล 15 เมษายน 2561, จาก
          http://www.foodtravel.tv/recipe.aspx?viewid=2261.
Topicstock. (2552). ขนมไข่ปลา. ค้นข้อมูล 15 เมษายน 2561, จาก 
          http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2009/01/D7478513/D7478513.html





การปลูกตาลโตนด

การปลูกตาลโตนด
วิธีการปลูกตาลโตนด 
            1. การปลูกจากเมล็ดที่ได้จากการเพาะ โดยนำเมล็ดตาลที่มีรากงอกแล้วไปปลูกในหลุม ระวังอย่าให้ปลายรากตาลหัก เพราะถ้าส่วนรากหักจะปลูกต้นตาลไม่ขึ้น หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 30 วัน ต้นตาลอ่อนก็จะงอกพ้นดินขึ้นมาเรื่อยๆ และต้นตาลที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจะมีรากยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร และจะหยุดการเจริญเติบโตพร้อมกับการพัฒนาต้นอ่อนในราก
            2. การปลูกแบบนำผลตาลสุกทั้งผลไปวางไว้ในที่ที่เตรียมไว้ และต้องขุดหลุมให้ดีเพื่อป้องกันสัตว์ไม่ให้ไปแทะกิน ซึ่งการปลูกวิธีนี้อาจจะทำให้ต้นตาลงอกพร้อมกันหลายๆต้น ให้ถอนต้นที่ไม่ต้องการออก แล้วทำรั้วป้องกันไม่ให้สัตว์เหยียบต้นตาล
           วิธีการปลูกและดูแลรักษาต้นตาลโตนดในกระถาง
            1. เมื่อต้นกล้าโตขึ้น รากงอกมากขึ้นจะทำการเปลี่ยนกระถางให้ใหญ่ขึ้นได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนดินแต่ให้เพิ่มดินใหม่ได้
            2. ห้ามตัดรากออกเพราะจะทำให้ต้นตาลตายได้ แต่ให้ตัดทางออกได้เพื่อให้ต้นตาลแตกยอดเร็วขึ้น
            3. รดน้ำทุกวันเหมือนไม้กระถางทั่วไป ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีแต่ควรใส่ปุ๋ยคอก

ภาพที่ 7 ต้นกล้าตาล
(ที่มา : https://sala12a.wordpress.com/2011/09/28/borassus-flabellifer-variegated )

แหล่งที่มา
ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์. (ม.ป.ป.) ตาลโตนด มรดกพืชจากบรรพบุรุษแหล่งสร้างงานสร้างชีวิต. 
                          กรุงเทพฯ : เพชรกะรัต.


พันธุ์ตาลโตนด

พันธุ์ตาลโตนด
            พันธุ์ตาลโตนดที่ปลูกโดยทั่วไป มีอยู่ 3 พันธุ์ คือ
            1. โตนดหม้อ ลำต้นจะตรงใหญ่แข็งแรง ผลใหญ่ สีค่อนข้างดำ เปลือกหนา ให้ผลประมาณ 10-20 ผลต่อทะลาย และจะให้ผลเมื่ออายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป แบ่งออกเป็น
                    1.1 ตาลหม้อใหญ่  เป็นตาลที่ให้ผลใหญ่ ผิวดำมันแทบไม่มีสีอื่นปน
เลย เวลาแก่มีรอยขีดตามแนวยาวของผล เมล็ดหนา
                     1.2 ตาลหม้อเล็ก มีลักษณะคล้ายหม้อใหญ่ ผลมีขนาดเล็กสีดำ ผลจะมีรอยขีดเมื่อแก่ และไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากผลมีขนาดเล็กและเต้าที่ได้จะมีขนาดเล็กตามด้วย
            2. โตนดไข่ ลำต้นแข็งแรงผลเล็กสีเหลือง เปลือก เกษตรกรไม่นิยมปลูกเพราะเมล็ดมีขนาดเล็ก
            3. โตนดพันธุ์ลูกผสม ผลค่อนข้างใหญ่ ลำต้นแข็งแรงเลือกสีเหลืองอมดำ ให้ผลประมาณ 15-30 ทะลาย

ประเภทของตาลโตนด
ตาลโตนดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตาลตัวผู้ และตาลตัวเมีย
ตาลตัวผู้ จะมีงวง
ตาลตัวเมีย จะมีลูกเป็นยวง ซึ่งเรียกว่า ทะลายเมื่อโตได้ประมาณ 18 ปี จะให้ผลผลิต
ข้อสังเกตว่าเป็นตาลตัวผู้หรือตัวเมีย
                1. ดูได้จากสัดส่วนของลำต้น ถ้าลำต้นโค้งเว้าเป็นตาลตัวเมีย และถ้าลำต้นสูงตรงเป็นตาลตัวผู้
                2. ดูจากการเวียนของใบตาล ถ้าเวียนจากขวาเป็นตัวผู้ และถ้าเวียนจากซ้ายเป็นตัวเมีย
       
ภาพที่ 2  ตาลตัวผู้จะให้งวงตาล 
(ที่มา http://www.thongthailand.com/index.php?lite=article&qid=41951628)   
                         
ภาพที่ 3 ตาลตัวเมียจะให้ผลตาล
(ที่มา : https://www.technologychaoban.com/what-news/article_28502 )